PHP คืออะไร
|
||
ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบเครือข่าย
คือ ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML
มีลักษณะเป็น Static คือ
ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่
ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย Internet
เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน
ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ
เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ
ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด
และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP
ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
PHP ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf ต่อมามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จึงได้ออกเป็นแพ็คเกจ "Personal Home Page" ซึ่งเป็นที่มาของ PHP โดยภาษา PHP เป็นแบบ Server Side Script และเป็น Open Source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลด Source Code และโปรแกรมไปใช้ฟรี ได้ที่ http://www.php.net พอกลางปี ค.ศ.1995 เขาก็ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า PHP/FI เวอร์ชั่น 2 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการรับข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มของ HTML (จึงมีชื่อว่า FI หรือ Form Interpreter) นอกจากนั้นยังเพิ่มความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกด้วย จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ PHP กันมากขึ้น ในปี 1997 มีผู้ร่วมพัฒนา PHP เพิ่มอีก 2 คน คือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans (กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Zend ซึ่งย่อมาจาก Zeev และ Andi ) โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และเพิ่มเติมเครื่องมือให้มากขึ้น |
||
โครงสร้างของภาษา PHP
|
||
ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag)
ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น
.php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน
PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C,
Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา
และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก
|
||
ตัวอย่างที่
1
|
||
|
||
จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP
ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ
และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า
"Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo
ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP
|
||
เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ
โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
|
||
ตัวอย่างที่ 2 |
||
|
||
ความสามารถของภาษา PHP
|
||
ที่มา: http://www.mwit.ac.th/~jeab/40201/ch3.php
|
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
โครงสร้างของภาษา PHP
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)